วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน คือ เรื่องที่ไม่เกิดขึ้นประจำ/ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ และกึ่งโครงสร้าง คือ ส่วนหนึ่งใช้เกณฑ์/ส่วนหนึ่งอาศัยประสบการณ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ Decision Support System
•  DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน
• DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา
การจัดการกับการตัดสินใจ
หน้าที่ของการจัดการ เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้จัดการในแต่ละองค์การจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมาย เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า แม้กระทั้งในบางครั้งอาจจะต้องเป็นประธานในงานบวชหรืองานแต่งงานของผู้ใต้บังคับบัญชา

Henri Fayol ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management Functions) ไว้ 5 ประการด้วยกัน

บทบาทของการจัดการ Mintzberg (1971) ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ (Manegerial Roles) ว่าเป็นกิจกรรมต่าง ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยที่กิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น 3 กลุ่ม 
บทบาทของผู้จัดการ
การตัดสินใจเป็นหน้าที่และบทบาทหลักสำคัญของผู้บริหาร การที่องค์การจะประสบความสำเร็จ หรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในการเลือกโอกาสหรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ย่อมจะสามารถนำพาองค์การให้ปฏิบัติงานได้ด้วยดี และประสบความสำเร็จ
กระบวนการตัดสินใจ
ระดับการตัดสินในภาในองค์กร
ประเภทของการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของ Decision Support System
ส่วนประกอบของ DSS สามารถจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
     1. อุปกรณ์  เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ
         1.1 อุปกรณ์ประมวลผล ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์
         1.2 อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วยระบบสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (
LAN) โดยในบางครั้งอาจจะใช้การประชุมโดยอาศัยสื่อวีดีโอ เป็นต้น
        1.3 อุปกรณ์แสดงผล
DSS ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีอุปกรณ์แสดงผลเช่น จอภาพที่มีความละเอียดสูง เครื่องพิมพ์อย่างดี
    2. ระบบการทำงาน  ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
        2.1 ฐานข้อมูล (Database) DSS จะไม่มีหน้าที่สร้าง ค้นหา หรือปรับปรุงในฐานข้อมูลขององค์การ แต่ DSS จะมีฐานข้อมูลของตัวเอง ซึ่งจะมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญจากอดีตถึงปัจจุบันและนำมาจัดเก็บ
       2.2 ฐานแบบจำลอง (Model Base) มีหน้าที่รวบรวมแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และแบบจำลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้
       2.3 ระบบชุดคำสั่งของ DSS (DSS Software System) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจำลอง โดยระบบชุดคำสั่งของ DSS
    3. ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานข้อมูลที่เหมาะสม ควรมีลักษณะ ดังนี้
       3.1 มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้งาน
       3.2  มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
       3.3 สามารถนำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
       3.4 มีความยืดหยุ่นและสามารถนำมาจัดรูปแบบ เพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
   4. บุคลากร บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


คุณสมบัติของ  Decision Support System
      1.ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
      2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
      3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
     4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
     5. มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
ความแตกต่างของ  Decision Support System กับสารสนเทศอื่น
     1. DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ มิใช่การรวบรวม การหมุนเวียน และการเรียกใช้ข้อมูลในงานประจำวัน
     2. DSS ถูกพัฒนาให้สามารถจัดการข้อมูล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในปัญหากึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของผู้จัดการระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง
      3. DSS ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้
      4. ปัจจุบัน DSS มีแนวโน้มที่จะถูกพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
      5. ผู้ใช้มีส่วนสำคัญในการออกแบบระบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้ออกแบบระบบด้วยการทำต้นแบบ ( Prototyping Approach )
ประเภทของ Decision Support System
     1. DSS แบบให้ความสำคัญกับข้อมูล (Data-Oriented DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบทางสถิติตลอดจนการจัดข้อมูลในลักษณะต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจสารสนเทศ และสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
     2. DSS แบบให้ความสำคัญกับแบบจำลอง (Model-Based DSS) เป็น DSS ที่ให้ความสำคัญกับแบบจำลองการประมวลปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลอง พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นดำเนินงาน (Operation Research Model) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหา และปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
การพัฒนาของ Decision Support System
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม
เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้ใช้แต่ละคนในการตัดสินปัญหาต่างๆเนื่องมาจากในปัจจุบันการตัดสินใจปัญหาส่วนใหญ่ภายในแต่ละองค์การมักจะใช้ความเห็นของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเป็นหลักทำให้บุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถพิจารณาอย่างรอบคอบและทำการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์
จึงมีการสร้างการตัดสินใจได้ 3 ประการ คือ
     1.อุปกรณ์ (Hardware)
     2.ชุดคำสั่ง (Software)
     3.บุคลากร (Peopleware)
ประเภทของ GDSS
    1. แบบห้องการตัดสินใจ (Decision room)
    2. การตัดสินใจโดยใช้เครือข่ายวงแลน (Local Area Decision Network)
    3. การประชุมทางไกล (Telecomferencing)
    4. เครือข่ายการตัดสินใจ WAN (Wide Area Decision Network)
ประโยชน์ของ GDSS
    1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
    2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
    3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
    4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
    5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
    6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
    7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด








3 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาครอบคลุม ด้วยสาระดีดีๆๆมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาครบถ้วน น่าอ่านมากค่ะ

    ตอบลบ
  3. เนื้อหามีสาระน่าเรียนรู้น่าอ่านมาก มีพื้นหลังที่สดใจทำให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

    ตอบลบ